Last updated: 25 มิ.ย. 2562 | 2835 จำนวนผู้เข้าชม |
ประกันวินาศภัย คือ การที่ผู้รับประกันภัย (บริษัทประกันภัย) ตกลงจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน (การชดเชย หรือการทดแทนเป็นตัวเงิน) หากเกิดความสูญเสีย หรือเสียหายจากภัยต่าง ๆ ในชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งความเสียหายนั้น สามารถประเมินค่าเป็นตัวเงินได้ สามารถแยกได้เป็น 4 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้
1. การประกันอัคคีภัย (Fire Insurance) คือ การประกันเพื่อคุ้มครองความสูญเสีย หรือ ความเสียหายของทรัพย์สินที่เอาประกันภัยอันมีสาเหตุจากการเกิดไฟไหม้ ฟ้าผ่า และการระเบิดของแก๊สที่ใช้สำหรับทำแสงสว่างหรือใช้ประโยชน์เพื่อการอยู่อาศัยเท่านั้น แต่ไม่รวมถึงความเสียหายจากการระเบิดของแก๊สที่เกิดจากสาเหตุแผ่นดินไหว และอาจรวมความเสียหายเนื่องจากภัยเพิ่มเติมที่ได้ระบุไว้ชัดเจนในกรมธรรม์ประกันภัย เช่น ภัยน้ำท่วม ภัยลมพายุ และภัยต่อเครื่องไฟฟ้า เป็นต้น
2. การประกันภัยรถยนต์ (Automobile Insurance) คือ การประกันภัยเพื่อคุ้มครองความเสียหายอันเกิดจากการใช้รถยนต์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
2.1 การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (Compulsory Motor Insurance – CMI) หรือเรียกกันอีกอย่างว่า พ.ร.บ. รถยนต์ / รถจักรยานยนต์ ซึ่งเป็นการประกันภัยที่กฎหมายกำหนดให้รถยนต์ทุกคันต้องทำตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
2.2 การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ (Voluntary Motor Insurance – VMI) การประกันภัยประเภทนี้กฎหมายไม่ได้บังคับ จะทำหรือไม่ทำก็ได้ตามความสมัครใจของเจ้าของรถ ซึ่งแบ่งแยกความคุ้มครองออกเป็น 5 ชนิด ได้แก่
- การประกันภัยรถยนต์ประเภท 1
- การประกันภัยรถยนต์ประเภท 2
- การประกันภัยรถยนต์ประเภท 3
- การประกันภัยรถยนต์ประเภท 4
- การประกันภัยรถยนต์ประเภท 5
3. การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง (Marine Insurance) คือ การประกันภัยความเสียหายของตัวเรือ สินค้า และทรัพย์สินที่อยู่ระหว่างการขนส่งในประเทศและระหว่างประเทศ ได้แก่
- การประกันภัยตัวเรือ (Hull Insurance)
- การประกันการขนส่งสินค้าทางทะเล (Marine Cargo Insurance)
- การประกันภัยสินค้าที่ขนส่งภายในประเทศ (Inland Transit Insurance)
- การประกันภัยความรับผิดของผู้ขนส่งทางบก (Carrier’s Liability Insurance)
4. การประกันภัยเบ็ดเตล็ด (Miscellaneous Insurance) คือ การประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองต่อความสูญเสีย หรือความเสียหายอันเนื่องมาจากภัยอื่น ๆ ที่อยู่นอกเหนือจากการประกันภัย 3 ประเภทที่กล่าวมา เช่น
4.1 การประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (Personal Accident – PA) ให้ความคุ้มครองผู้เอาประกันภัยในกรณีที่ประสบอุบัติเหตุ ได้รับบาดเจ็บทางร่างกาย การเสียชีวิต การสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร
4.2 การประกันสุขภาพ (Health Insurance) ให้ความคุ้มครองค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลของผู้เอาประกันภัย ทั้งการรักษาตัวในฐานะผู้ป่วยใน (IPD) หรือผู้ป่วยนอก (OPD) ไม่ว่าค่ารักษาพยาบาลนั้นจะเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย หรือการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ให้แก่ผู้เอาประกันภัย เช่น ค่าใช้จ่ายกรณีที่มีการรักษาพยาบาลฉุกเฉิน หลังการเกิดอุบัติเหตุ ค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาที่โรงพยาบาล หรือคลินิก ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าผ่าตัด หรือบางแผนประกันภัยให้ความคุ้มครองค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตร (โปรดศึกษารายละเอียดในแผนประกัน)
4.3 การประกันภัยโจรกรรม (Burglary Insurance) ให้ความคุ้มครองแบ่งเป็น 3 แบบ คือ
แบบ จร.1 >> ลักทรัพย์ที่ปรากฏร่องรอยงัดแงะ ความเสียหายต่อตัวอาคาร
แบบ จร.2 >> ลักทรัพย์ที่ปรากฏร่องรอยงัดแงะ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ความเสียหายต่อตัวอาคาร
แบบ จร.3 >> ลักทรัพย์ที่ไม่ปรากฏร่องรอยงัดแงะ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ความเสียหายต่อตัวอาคาร
4.4 การประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอก (Liability Insurance) ให้ความคุ้มครองการเสียชีวิต หรือบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยของบุคคลใด ๆ ที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดตามกฏหมาย ความสูญเสีย หรือเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลใด ๆ ที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย เช่นประกันภัยความผิดทางวิชาชีพ ประกันภัยป้ายโฆษณา ประกันความรับผิดของผู้ทำการผลิตและผู้รับเหมา เป็นต้น
ประโยชน์ของการประกันภัย
1. ประโยชน์ต่อผู้เอาประกันภัย
- ให้ความคุ้มครอง ต่อบุคคล ครอบครัว และทรัพย์สินของผู้เอาประกันภัย ทำให้เกิดความมั่นใจและรู้สึกปลอดภัย
- ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนต่อบุคคล ทายาท และครอบครัว ในกรณีที่ผุ้เอาประกันเสียชีวิต
- ปลูกฝังให้เกิดนิสัยการประหยัดและเกิดการออม
2. ประโยชน์ต่อธุรกิจ
- ช่วยให้เกิดความมั่นคงในการประกอบธุรกิจ
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ
- ช่วยเป็นหลักประกันในการอนุมัติสินเชื่อของธนาคาร
- ช่วยให้เกิดเสถียรภาพในต้นทุนการผลิต
- ช่วยส่งเสริมธุรกิจบางประเภทให้เติบโตขึ้น
3. ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม
- เกิดการระดมทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ
- ลดภาระแก่สังคม และลดภาระค่าใช้จ่าย ด้านสวัสดิการสงเคราะห์จากภาครัฐ
จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าการประกันวินาศภัย มีหลากหลายรูปแบบความคุ้มครองให้เราได้เลือกซื้อ เลือกใช้ได้ตามความต้องการและความเหมาะสมของแต่ละบุคคล อยู่ที่ว่าจะหาซื้อได้อย่างไร แน่นอนต้องซื้อผ่านตัวแทน หรือนายหน้าที่ได้รับใบอนุญาตจากภาครัฐ โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)
และในปัจจุบันอีกหนึ่งช่องทางที่สามารถหาข้อมูลหรือติดต่อได้ด้วยตัวเอง ก็คือการหาข้อมูลบน website ซึ่งมีอยู่มากมายหลายแห่ง บางแห่งก็มีโปรโมชั่น ลด แลก แจก แถม ทำให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์สูงสุดลองเข้าไปหาดูกันครับ แต่หากไม่รู้ว่าจะเลือกเว๊ปไซด์ไหน และเพื่อประหยัดเวลาในการหาของดีราคาถูก แนะนำให้เข้าไปที่ https://insure.724.co.th/ และลองเลือกซื้อประกันที่ใช่ ที่เราต้องการค่ะ
…………………………………………………………………………………………………………
โดย คุณบ๊วย - อรวรรณ ธรรมาวุฒิกุล
ตัวแทนและนายหน้าผู้ให้คำปรึกษางานประกันวินาศภัย
หจก. บีเอสเค สมาร์ท กรุ๊ป
อ้างอิงบทความโดย 724insure คลิก
17 ก.ค. 2563
26 ธ.ค. 2561
22 เม.ย 2562
10 พ.ค. 2562